เอกสารประชาสัมพันธ์

โรคติดต่อและภัยสุขภาพที่ควารเฝ้าระวังในช่วงฤดูหนาว


โรคติดต่อและภัยสุขภาพที่ควรเฝ้าระวังในช่วงฤดูหนาว

 
 
ด้วยจังหวัดปทุมธานี ได้รับแจ้งจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในหลายพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนและอาจเกิดแนวโน้มของการเจ็บป่วย
เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และป้องกันการระบาดของโรคติดต่อและภัยสุขภาพ เทศบาลเมืองปทุมธานี จึงขอให้ประชาชนหมั่นดูแลร่างกายให้อบอุ่น และแข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสที่จะเจ็บป่วยจากโรคและภัยสุขภาพ ดังนี้
 
1. โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่
- โรคไข้หวัดใหญ่
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กจนถึงเด็กโต ผู้เสียชีวิตมักเป็นผู้สูงวัย อายุ 65 ปีขึ้นไป
การติดต่อ : แพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คนผ่านทางการหายไจ ไอ จาม แล้วนำมาสัมผัสที่จมูก ตา หรือปาก
อาการ : มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล
การป้องกัน : ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้มีอาการคล้ายไข้หวัด
 
- โรคปอดอักเสบ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
การติดต่อ : เกิดจากการหายใจ หรือสัมผัสละอองฝอยผ่านน้ำมูก น้ำลายที่ปนเชื้อไวรัส ผ่านการ ไอ จาม แล้วนำมาสัมผัสที่จมูก ตา หรือปาก
อาการ : มีไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมักมีภาวะหายใจล้มเหลว และมีโอกาสเสียชีวิต
การป้องกัน : หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ ควรดื่มน้ำมากๆ
 
-โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการประมาณ 1-14 วัน หลังจากสัมผัสเชื้อโรคหรือเฉลี่ยประมาณ 5 วัน
การติดต่อ : ไวรัสโคโรนา 2019 แพร่กระจายผ่านสิ่งของที่แปดเปื้อนเชื้อโรค อยู่ได้นานหลายวันหากไม่มีการทำความสะอาด
อาการ : มีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย สูญเสียการรับรู้รสหรือกลิ่น บางรายมีอาการรุนแรงปอดบวมหายใจลำบาก และอาจเสียชีวิตได้
การป้องกัน : หากมีอาการสงสัย ให้ตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที สวมหน้ากาอนามัย เว้นระยะห่างตามความเหมาะสม หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
 
2. โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่
- โรคอุจจาระร่วง
พบมากในกลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี
การติดต่อ : ติดต่อโดยการรับประทานอาหารและน้ำที่มีเชื้อไวรัส (ไวรัสที่พบมากในฤดูหนาว ได้แก่ Rotavirus Norovirus )
อาการ : ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน อาจมีไข้หรืออาเจียนร่วมด้วย
การป้องกัน : ดูแลสุขอนามัย อาหารและน้ำ รับประทานอาหารที่สุกใหม่และหมั่นล้างมือ
 
3.โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ ในช่วงฤดูหนาว ได้แก่
- โรคหัด
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากเชื้อไวรัสหัด (Measles Virus) พบได้ในจมูกและลำคอของผู้ป่วย
การติดต่อ : ติดต่อจาก การไอ จาม หรือ พูดคุยในระยะใกล้ชิดกับผู้ป่วย
อาการ : เริ่มด้วยมีไข้ น้ำมูกไหล ไอแห้งๆ ตลอดเวลา หลังจากนั้นมีไข้สูงประมาณ 3-4 วัน ตาแดงก่ำ เริ่มมีผื่นขึ้นลักษณะนูนแดง ( maculopapular rash) ติดกันเป็นปื้นๆ
การป้องกัน : เด็กอายุครบ 9 เดือนควรเข้ารับวัคซีน (MMR) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ประชาชนทั่วไปให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโรคหัด
 
4. ภัยสุขภาพ ได้แก่
- การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว
มักเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ คนเร่ร่อน ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ดื่มสุราเพื่อลดความหนาว
การป้องกัน : สวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น
- การขาดอากาศหายใจและการสูดดมแก๊สพิษจากอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มความอบอุ่น ให้ร่างกายจากเครื่องทำน้ำอุ่นแบบใช้ระบบแก๊ส
การป้องกัน : ตรวจสอบเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สให้ได้มาตรฐานและปลอดภัย ก่อนใช้งาน
 
 
ทั้งนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลานและผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด หากเริ่มมีความผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422