สำนักปลัดเทศบาล

การให้บริการประชาชนด้านงานบัตรประจำตัวประชาชน


สำนักปลัดเทศบาล
การให้บริการประชาชนด้านงานบัตรประจำตัวประชาชน

 

การให้บริการประชาชนด้านงานบัตรประจำตัวประชาชน

 

งานบัตรประจำตัวประชาชน

 

การทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก

หลักเกณฑ์

          1. ผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ ต้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชน (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)

          2. ยื่นคำขอที่อำเภอ กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต หรือเทศบาลที่ตนเองมีชื่อในทะเบียนบ้าน

หลักฐาน

          1. สำเนาทะเบียนบ้าน

          2. หลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ เช่น สูติบัตร หรือวุฒิการศึกษาที่มีรูปภาพใบหน้ามาแสดง

          3. บิดา มารดา หรือเจ้าบ้านเป็นผู้รับรอง (พร้อมนำบัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับรองมาด้วย)

          4. กรณีเป็นบุตรบุคคลต่างด้าวต้องมีหนังสือสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าวของบิดามารดามาแสดงด้วย

ขั้นตอนการติดต่อ

          1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอมีบัตรนำมาประกอบการขอมีบัตร  (ใช้เวลาประมาณ 3  นาที)

          2. เมื่อหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง เจ้าหน้าที่พิมพ์คำร้องขอมีบัตร พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ขอมีบัตร (ใช้เวลาประมาณ 3 นาที)

          3. เจ้าหน้าที่ถ่ายรูป (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

          4. พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกปากคำผู้ให้การรับรอง (ใช้เวลาประมาณ 5 นาที)

          5. ผู้ขอมีบัตรลงนามรับบัตรในคำขอมีบัตร

          6. พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบบัตรที่จัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้

 

การทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่
1. กรณีบัตรเดิมหมดอายุ

          เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ  ให้มาขอมีบัตรภายใน 60 นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากไม่มาขอมีบัตรภายในกำหนด 60 วัน จะถูกปรับไม่เกิน 100 บาท

หลักฐาน

          1. สำเนาทะเบียนบ้าน

          2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ

ขั้นตอนการติดต่อ

          1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอมีบัตรนำมาประกอบการขอมีบัตร  (ใช้เวลาประมาณ 3  นาที)

          2. เมื่อหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง เจ้าหน้าที่พิมพ์คำร้องขอมีบัตร พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ขอมีบัตร (ใช้เวลาประมาณ 3 นาที)

          3. เจ้าหน้าที่ถ่ายรูป (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

          4. หากไม่มาขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา ต้องถูกเปรียบเทียบปรับและบันทึกปากคำ (ใช้เวลาประมาณ 10 นาที)

          5. เจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินค่าปรับ  กรณีถูกปรับ  (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

          6. ผู้ขอมีบัตรลงนามรับบัตรในคำขอมีบัตร

          7. พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบบัตรที่จัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้ 

 

 

2. กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย

        มื่อบัตรหายหรือถูกทำลาย ให้แจ้งการหายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักทะเบียนที่จะทำบัตรใหม่ (เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหายหรือถูกทำลาย หากเกิน 60 วัน เสียค่าปรับอีก 100 บาท

   

หลักฐาน

          1. สำเนาทะเบียนบ้าน

          2. หลักฐานที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับรถ สูติบัตร ใบสุทธิ วุฒิการศึกษา หรือสำเนาบัตรเดิมที่หาย

          3. หากไม่สามารถพิสูจน์ตัวบุคคลได้ ต้องนำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน บิดา มารดา ญาติพี่น้อง หรือข้าราชการมารับรอง

(พร้อมนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้รับรองมาด้วย หากเป็นข้าราชการให้ใช้บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ)

     

ขั้นตอนการติดต่อ

          1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอมีบัตรนำมาประกอบการการขอมีบัตร  (ใช้เวลาประมาณ 3  นาที)

          2. เมื่อหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง เจ้าหน้าที่ออกบันทึกรับแจ้งเอกสารบัตรประจำตัวประชาชนสูญหายหรือถูกทำลาย (ใช้เวลาประมาณ 4 นาที)

3. พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกปากคำผู้ขอมีบัตร (ใช้เวลาประมาณ 5 นาที)

4. เจ้าหน้าที่พิมพ์คำร้องขอมีบัตรฯ พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ขอมีบัตรฯ (ใช้เวลาประมาณ 3 นาที)

5. เจ้าหน้าที่ถ่ายรูป (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

6. พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกปากคำผู้ให้การรับรอง (ใช้เวลาประมาณ 5 นาที)

7. เจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม/ใบเสร็จรับเงินค่าปรับ (กรณีถูกปรับ) (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

8. ผู้ขอมีบัตรลงนามรับบัตรในคำขอมีบัตร

9. พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบบัตรที่จัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้

 

3. กรณีบัตรเดิมชำรุด

เมื่อบัตรเดิมชำรุด  เช่น  ไฟไหม้บางส่วน ถูกน้ำเลอะเลือน (เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท) ให้ขอเปลี่ยนบัตรภายในกำหนด 60 วัน

หลักฐาน

          1. สำเนาทะเบียนบ้าน

          2. บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิมที่ชำรุด

          3. หลักฐานที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับรถ สูติบัตร ใบสุทธิ วุฒิการศึกษา

          4. หากบัตรชำรุดมากจนไม่สามารถใช้พิสูจน์ตัวบุคคลได้ต้องนำเจ้าบ้าน หรือผู้ที่น่าเชื่อถือได้ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน บิดา มารดา ญาติพี่น้อง หรือข้าราชการมารับรอง (พร้อมนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้รับรองมาด้วย หากเป็นข้าราชการให้ใช้บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ)

     

ขั้นตอนการติดต่อ

          1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอมีบัตรนำมาประกอบการขอมีบัตร  (ใช้เวลาประมาณ 3  นาที)

          2. เมื่อหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง เจ้าหน้าที่เขียนคำร้องขอมีบัตร พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือผู้ขอมีบัตร (ใช้เวลาประมาณ 5 นาที)

          3. หากบัตรชำรุดมากจนไม่สามารถใช้พิสูจน์ตัวบุคคลได้ ต้องนำเจ้าบ้านหรือผู้น่าเชื่อถือได้ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือญาติพี่น้องหรือข้าราชการมารับรอง (พร้อมนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้รับรองมาด้วย หากเป็นข้าราชการให้ใช้บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ)

          4. พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกปากคำผู้ให้การรับรอง (ใช้เวลาประมาณ 5 นาที)

          5. เจ้าหน้าที่ถ่ายรูป (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

          6. เจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที) 

          7. ผู้ขอมีบัตรลงนามรับบัตรในคำขอมีบัตร

          8. พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบบัตรที่จัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้

 

4. กรณีเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล

          หากเปลี่ยนชื่อตัว หรือนามสกุล (เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท) ให้ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนบัตรภายใน  60  วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อหรือสกุลในทะเบียนบ้าน 

หลักฐาน

          1. สำเนาทะเบียนบ้าน

          2. บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิม

          3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล

ขั้นตอนการติดต่อ

          1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอมีบัตรนำมาประกอบการขอมีบัตร (ใช้เวลาประมาณ 3 นาที)

          2. เมื่อหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง เจ้าหน้าที่พิมพ์คำร้องขอมีบัตร พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือผู้ขอมีบัตร (ใช้เวลา 3 นาที)

          3. เจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

          4. เจ้าหน้าที่ถ่ายรูป (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

          5. ผู้ขอมีบัตรลงนามรับบัตรในคำขอมีบัตร

          6. พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบบัตรที่จัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้

 

5. กรณีเปลี่ยนที่อยู่

          หากเปลี่ยนที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิมยังสามารถใช้ได้จนกว่าจะหมดอายุ แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนที่อยู่หน้าบัตรให้ตรงตามที่อยู่ตามทะเบียนใหม่ ให้ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนบัตรได้ (เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท)

หลักเกณฑ์

1. สำเนาทะเบียนบ้าน

2. บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิม

ขั้นตอนการติดต่อ

1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอมีบัตรนำมาประกอบการขอมีบัตร (ใช้เวลาประมาณ 3 นาที)

2. เมื่อหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง เจ้าหน้าที่พิมพ์คำร้องขอมีบัตร พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือผู้ขอมีบัตร (ใช้เวลา 3 นาที)

3. เจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

4. เจ้าหน้าที่ถ่ายรูป (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

5. ผู้ขอมีบัตรลงนามรับบัตรในคำขอมีบัตร

6. พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบบัตรที่จัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้

 

6. กรณีอื่น ๆ เช่น เปลี่ยนคำนำหน้าเป็น นาย, นางสาว หรือการเปลี่ยนยศ

หลักฐาน

1. สำเนาทะเบียนบ้านตัวจริง

2. บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิม

3. กรณีเปลี่ยนยศ ให้ใช้คำสั่งแต่งตั้งยศ

 

ขั้นตอนการติดต่อ

1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอมีบัตรนำมาประกอบการขอมีบัตร (ใช้เวลาประมาณ 3 นาที)

2. เมื่อหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง เจ้าหน้าที่พิมพ์คำร้องขอมีบัตร พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือผู้ขอมีบัตร (ใช้เวลา 3 นาที)

3. เจ้าหน้าที่ถ่ายรูป (ใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

4. ผู้ขอมีบัตรลงนามรับบัตรในคำขอมีบัตร

5. พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบบัตรที่จัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้

 

 

การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนารายการบุคคล ขณะขอมีบัตร (ภาพใบหน้า)

หลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิขอคัด ฯ

1. เจ้าของรายการผู้ถือบัตร

2. ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ได้แก่ คู่สมรส บุพการี และผู้สืบทอดสันดาน

        3. ผู้รับมอบอำนาจ จะขอตรวจหลักฐาน รายการ หรือข้อมูลเกี่ยวกับบัตร ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในเวลาราชการ ณ สถานที่ดังนี้

               - สำนักบริการ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง

               - ที่ทำการปกครองจังหวัดทุกจังหวัด

               - สำนักงานปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร

               - ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ สำนักงานเขตทุกแห่ง

               - ศาลาว่าการเมืองพัทยา

               - สำนักงานหรือที่ทำการขององค์กรปกครองท้องถิ่น

               - สถานที่อื่นที่กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด

หลักฐาน

       1. กรณีเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง แสดงบัตรของตน หรือหลักฐาน หรือเอกสารอื่นใดที่มีกฎหมายรับรองซื่งต้องมีรูปถ่าย และสามารถแสดงตนได้ รวมทั้งแสดงหลักฐานการเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง

       2. กรณีรับมอบอำนาจจากผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง แสดงบัตรของผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง บัตรของผู้รับมอบอำนาจ และเอกสารการรับมอบอำนาจประกอบด้วย

 

สถิติการให้บริการงานบัตรประจำตัวประชาชน

 

 - สถิติการให้บริการงานบัตรประจำตัวประชาชน