สำนักปลัดเทศบาล

การให้บริการประชาชนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


สำนักปลัดเทศบาล
การให้บริการประชาชนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

การให้บริการประชาชนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ดาวน์โหลดเอกสาร

 

งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

               งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  เทศบาลเมืองปทุมธานี  ให้บริการในด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัย ควบคุมแก้ไขและบรรเทาเหตุสาธารณภัยต่างๆ  ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งการฟื้นฟูบูรณะ  ความเสียหาย จากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ตลอดจนการการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และเฝ้าระวังความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง 

 

บุคลากรในงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

1. พนักงานเทศบาล จำนวน 6 คน
2. ลูกจ้างประจำ จำนวน 2 คน
3. พนักงานจ้าง (ตามภารกิจ 7 คน และทั่วไป 5 คน) จำนวน 12 คน
4. อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 50 คน

 

เครื่องมือเครื่องใช้ในงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

1. รถยนต์ดับเพลิง  จำนวน  2  คัน
2. เรือยนต์ดับเพลิง  จำนวน  1  ลำ
3. รถยนต์ตรวจการณ์  จำนวน  2  คัน
4. รถยนต์บรรทุกน้ำ  จำนวน  3  คัน
5. เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม  จำนวน  2  เครื่อง
6. เรือท้องแบนสำหรับติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม  จำนวน  3  ลำ
7. รถยนต์กู้ภัยพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิต  จำนวน  1  คัน
8.  อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ดับเพลิง  จำนวน  20  คน
9.  อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จำนวน  479  คน
10.  ในรอบปีที่ผ่านมามีการปฏิบัติหน้าที่  จำนวน  526  ครั้ง
11.  การฝึกซ้อมบรรเทาสาธารณภัย ปี 2558  จำนวน  48  ครั้ง
12.  ในปีงบประมาณที่ผ่านมาตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ทั้งสิ้น  จำนวน  2,325,820  บาท
13.  วิทยุสื่อสาร ไอคอม รุ่น ICF 3S ชนิดมือถือ  จำนวน  12  เครื่อง
14.  รถพยาบาล  จำนวน 1  คัน
15.  รถจักรยานยนต์  จำนวน 6  คัน
16.  ชุดพจญเพลิงในอาคาร  จำนวน 2  ชุด
17.  รถยนต์บรรทุกติดตั้งเครน  จำนวน 1  คัน

 

            ทางด้านกิจกรรมของงานป้องกันฯ  ได้จัดให้มีคณะวิทยากรสำหรับฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดับเพลิงขั้นต้น ให้กับสถานประกอบการต่างๆ และสถานที่ราชการที่ได้รับการร้องขอ  และได้มีการฝึกร่วมกับโรงพยาบาลปทุมธานี เกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ และเข้าร่วมระงับเหตุอัคคีภัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

เพิ่มทักษะให้กับเจ้าหน้าที่

                         โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่ของงานป้องกันฯ เข้าร่วมฝึกอบรมและศึกษาดูงานนอกสถานที่เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานและพนักงานจ้างของงานป้องกันได้ เรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์  เครื่องมือ-เครื่องใช้ที่ทันสมัย และเทคนิคใหม่ในการเข้าระงับอัคคีภัยและสาธารณภัยต่างๆ  อยู่เป็นประจำ

 

การจัดหากำลังสำรอง

                        งานป้องกันได้จัดทำโครงการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  (อปพร.) เพื่อเป็นกำลังเสริมภายในเขตเทศบาลเมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยขึ้นสามารถเรียกอาสาสมัคร อปพร. มาเพื่อ เป็นกำลังเสริมในการบรรเทาสาธารณภัยได้

 

1. การให้บริการประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน

1.1 จัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อม สามารถแก้ไขสถานการณ์เหตุอัคคีภัย และเหตุสาธารณภัยที่ได้รับแจ้งจากประชาชน  

1.2 ให้บริหารน้ำประชาชน ทั้งในเขตและนอกเขต เมื่อได้รับการร้องขอ  

1.3 ให้บริการรับส่งผู้ป่วย จากบ้านส่งถึงโรงพยาบาล

1.4 ให้บริการจับสัตว์มีพิษ

1.5 ให้บริการตรวจตราเฝ้าระวังความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

 

2. การปรับลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน

             

 สาธารณภัย

ขั้นตอนการให้บริการ (ใหม่)

1. อัคคีภัย

- ให้บริการทันทีที่ได้รับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง  ภายในเขตเทศบาลต้องสามารถถึงที่เกิดเหตุ ภายใน 3.5  นาที

2. อุทกภัย

- ตรวจสอบเฝ้าระวังดำเนินการแก้ไขล่วงหน้าตามสถานการ

- น้ำท่วมขัง  ดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทันทีที่ได้รับแจ้งเหตุตลอดเวลา  24  ชั่วโมง

3. วาตภัย

- ดำเนินการแก้ไขเหตุการณ์ทันที ตลอด  24 ชั่วโมง

4. การขาดแคลนน้ำ

- ภายในเขตเทศบาลดำเนินการภายในระยะเวลา 10  นาที  ตลอด  24  ชั่วโมง

- นอกเขตเทศบาลดำเนินการภายใน  3  ชั่วโมง

5. อุบัติภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

- ดำเนินการแก้ไขทันที ตลอด 24  ชั่วโมง

 

ฝากไว้จากใจพวกเรา..งานป้องกันฯ

            อัคคีภัยป้องกันได้ ถ้าเราไม่ประมาท แต่บางครั้งเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้ารั่ว ฉะนั้นเรามารู้จักวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัย โดยเริ่มจาก..

 

การป้องกันก่อนเกิดเหตุร้าย

1. จัดระเบียบภายในและภายนอกอาคาร เก็บสิ่งของที่รกรุงรังให้หมด วัตถุไวไฟ จัดไว้อย่างเป็นสัดส่วน

2. ตรวจตราซ่อมแซมเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่อาจเป็นบ่อเกิดของไฟไหม้ได้ เช่น สายไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อน ต้องซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งาน

3. เตรียมเครื่องดับเพลิง รวมถึงศึกษาวิธีการใช้งานไว้ให้พร้อม

4. ให้ความร่วมมือ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือแนวทางจากสถาบันต่าง ๆ ที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัย

 

เมื่อเกิดอัคคีภัย..ควรทำอย่างไร

1. ควบคุมสติอย่างตื่นตระหนกรีบแจ้งข่าวทางโทรศัพท์ไปยังสถานีดับเพลิงใกล้เคียง หมายเลข 199

2. ดับเพลิงเบื้องต้น เช่น ใช้ น้ำ ,ทราย หรือเครื่องดับเพลิง

3. ปิดประตู หน้าต่าง อุดท่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นทางผ่านของความร้อน ก๊าซ หรือควัน

4. ดูแลเด็กและคนชรา ให้อยู่ในที่ปลอดภัย

5. ขนย้ายทรัพย์สินที่มีความจำเป็น

 

รู้ไว้ใช่ว่า..

1. เมื่อประกอบอาหารเสร็จ ควรปิดวาล์วแก๊สให้สนิท หากถังแก๊สชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

2. อย่าฉีดสเปรย์ฉีดผม , ยาฉีดยุง ,หรือวัตถุไวไฟ ใกล้เปลวไฟเพราะอาจเกิดระเบิดได้

3. อย่าทิ้งเศษผ้าขี้ริ้ว ,ไม้กวาดดอดหญ้าหรือเศษกระดาษไว้หลังตู้เย็นที่มีไอร้อนเพราะอาจคุไหม้ได้

4. อย่าเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น กระติกน้ำร้อนทิ้งไว้จนน้ำแห้ง

5. อย่าวางเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ หรือวางตู้เย็นชิดฝาผนัง เพราะจะทำให้ระบายความร้อนไม่ได้

6. อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือผ่านการปลอมแปลงคุณภาพ

7. ดูแลสายไฟในบ้านอย่าให้ชำรุดเพราะอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้

8. อย่าสูบบุหรี่ขณะเติมน้ำมัน

9. เมื่อได้กลิ่นแก๊สให้รีบปิดวาล์วหัวถังทันที เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท เพื่อให้กลิ่นแก๊สเจือจาง