กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

อำนาจหน้าที่


กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
อำนาจหน้าที่

 

อำนาจหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

 

          กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ โดยแยกรายละเอียดดังนี้

 

ฝ่ายบริหารงานสาธาณสุข

 

1.งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม

2. งานรักษาความสะอาด

3. งานสัตว์แพทย์

 

ฝ่ายบริการสาธารณสุข

 

1. งานศูนย์บริการสาธารณสุข

2. งานเผยแพร่และฝึกอบรม

3. งานส่งเสริมสุขภาพ

4. งานควบคุมโรค

 

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

 

1. งานธุรการ

2. งานเทศกิจ

3. งานนิติการ

 

งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม  กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าประเภทต่าง ๆ ต้องชำระค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข  พ.ศ. 2535  ดังนี้

1. กิจการค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

2. การจำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร

3. การจัดตั้งตลาดเอกชน

4. การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ

5. กิจการเสริมสวย – แต่งผม

            ใบอนุญาตประกอบการค้าประเภทต่าง ๆ มีอายุ 1 ปี  นับตั้งแต่วันที่ออกเป็นต้นไป  การยื่นขอหรือต่อใบอนุญาต  ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี  หากพ้นกำหนดแล้งผู้ประกอบการค้าจะต้องเสียค่าปรับร้อยละ  20  ของค่าธรรมเนียมใบอนุญาต  โดยยื่นขอหรือต่อใบอนุญาตได้ที่ชั้น 3  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองปทุมธานี  ระยะเวลาการขออนุญาตประกอบกิจการต่าง ๆ ไม่เกิน  20  วัน  โดยผู้ขออนุญาตต้องนำหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ใบรับรองแพทย์ จำนวน 1 ฉบับ

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. สำเนาบัตรประชาชน

4. ใบอนุญาตปีที่ผ่านมา

 

งานรักษาความสะอาด  มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล  ดังนี้

การจัดเก็บขยะมูลฝอย

1. ทางเทศบาลฯ กำหนดสถานที่ทิ้ง  และมีภาชนะรองรับตั้งบริการเป็นจุด ๆ  ภายในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี  โดยจะมีเจ้าหน้าที่มาเก็บตามวันเวลา

2. บริเวณถนนสายต่าง ๆ จะมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประจำสายคอยดูแลตลอดเวลา

3. ประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาลฯ สามารถติดต่อขอรับบริการเก็บขยะมูลฝอย  โดยยื่นคำร้องได้ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะประเมินปริมาตร  เพื่อคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมนำเสนอต่อผู้บริหารเป็นผู้พิจารณาต่อไป

งานดูดสิ่งปฏิกูล

1. เทศบาลเมืองปทุมธานี กำหนดพื้นที่สำหรับบริการดูดสิ่งปฏิกูลไว้  3  อำเภอ  คือ  อำเภอเมือง  อำเภอสามโคก  อำเภอลาดหลุดแก้ว  สามารถขอรับบริการดูดสิ่งปฏิกูลได้โดยยื่นคำร้องที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  หรือ  ที่หมายเลข  0-2581-5740

2. ผู้ขอรับบริการสามารถได้รับการบริการไม่เกิน 3  วัน  นับจากวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้ง

 

งานสัตว์แพทย์

งานควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี

1. ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และฉีดยาคุมกำเนิดสุนัขและแมว  ในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี  25  ชุมชน  และวัด  5  วัด  และตลาดเทศบาลฯ

2. จัดทำเอกสารข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าแจกประชาชน

3. ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและการควบคุมป้องกันโรค

งานควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี

1. จัดพิมพ์เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกแจกประชาชน

2. เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ชนพื้นเมืองและผู้เลี้ยงนกสวยงาม ในเขตเทศบาลฯ

3. รับแจ้งสัตว์ปีกป่วยตายกะทันหันและรับ – ส่ง ตรวจสัตว์ปีกป่วย  เพื่อตรวจหาเชื้อโรคไข้หวัดนก  แจ้งได้ที่  ชั้น  3  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  (โทร. 0-2581-5740)

งานโรคฆ่าสัตว์

1. รับคำร้องขออนุญาตฆ่าสัตว์ (โค – สุกร) ฆ่าในโรงฆ่าสัตว์เทศบาลเมืองปทุมธานี  โดยยื่นคำร้อง  ได้ที่  ชั้น  3  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  (โทร. 0-2581-5740)

2. ควบคุมกำกับดูแลการออกอาชญาบัตรฆ่าสัตว์ ตรวจสัตว์ก่อนฆ่า  ตรวจซากสัตว์หลังฆ่า (โค – สุกร)

3. ควบคุมไม่ให้มีการจำหน่ายเนื้อโคและสุกรที่ฆ่าจากโรงฆ่าสัตว์เถื่อนไม่ได้รับอนุญาต และไม่ผ่านการตรวจโดยสัตว์แพทย์

งานทั่วไป

1. รับคำร้องเรียนปัญหาจากสัตว์เลี้ยง เช่น  สุนัขจรจัด  แมว  สัตว์ปีก  เป็นต้น

- ปัญหาเหตุรำคาญจากสัตว์ปีก

- ปัญหาเหตุรำคาญจากสุนัขจรจัด

2. ควบคุมและเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์สู่คนตามสถานการณ์ที่เกิดโรคไม่ให้ระบาดแพร่ระบาดในเขตเทศบาลฯ โดยประสานงานการเฝ้าระวังและป้องกันกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปทุมธานี และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี

 

งานศูนย์บริการสาธารณสุข

          สถานที่ตั้ง : เลขที่ 59 ถนนเกรณาวัฒนะ  ตำบลบางปรอก  อำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  (หน้าวัดหงส์ปทุมาวาส) โทรศัทพ์ 0-2581-6111  โทรสาร 0-2581-2060

หน้าที่รับผิดชอบของงานศูนย์บริการสาธารณสุข 

          ขอบเขตการให้บริการ เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ มีหน้าที่รับผิดชอบด้านสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปทุมธานี  โดยให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วยการ การฟื้นฟูสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีการดำเนินงานทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อให้ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายต่างๆ  การให้บริการทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุข การให้คำปรึกษาและการพยาบาลด้านสุขภาพทั้งบุคคล ครอบครัว รวมถึงชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเองด้าน สุขภาพได้โดยประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน และส่งต่อเชื่อมโยงไปยังโรงพยาบาลเครือข่ายได้แก่ โรงพยาบาลปทุมธานี

 

การให้บริการประกอบด้วยกิจการดังต่อไปนี้

- ให้บริการตรวจรักษาแบบผู้ป่วยนอก

- บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป

- การทำหัตถการทางการแพทย์ เช่น ฉีดยา ทำแผล ฯลฯ

- แผนกคลินิกทันตกรรม

- แผนกจ่ายยาและให้คำปรึกษาโดยเภสัชกร

- แผนกส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษา ฟื้นฟูโรคและให้คำปรึกษาโดยนักกายภาพบำบัด

- การติดตามผู้ป่วยในรายที่ขาดการรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการ รักษาอย่างต่อเนื่อง

- ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้พิการ และผู้ป่วยที่รับการส่งต่อจากโรงพยาบาล

- งานบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

 

 คลินิกแพทย์เฉพาะทาง

- คลินิกอายุรกรรมโรคความดันโลหิตสูง 

- คลินิกอายุรกรรม โรคเบาหวาน

- คลินิกโรคกระดูก และ กล้ามเนื้อ

- คลินิกศัลยกรรม

- คลินิกจิตเวช

 

งานป้องกันและควบคุมโรค

          มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและไม่ติดต่อทั้งหมด  ในเขตเทศบาลประกอบด้วยกิจกรรมดำเนินการดังต่อไปนี้

1. ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก รับผิดชอบเรื่องการควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน  และการพ่นหมอกควันยุงลายในชุมชน  ฉะนั้นหากมีผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตเทศบาล  ให้แจ้งอสม.  ในชุมชนหรือเทศบาลฯ  (โทรศัพท์ 0-2581-6111)  เพื่อเทศบาลฯ  และดำเนินการควบคุมโรคต่อไป

2. คลินิกเด็กดี ให้บริการตรวจสุขภาพเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี  และให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข  ทุกวันพุธที่ 2 และ 4  ของเดือน  เวลา  30 – 17.00 น.  ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

3. ให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข แก่นัดเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  แก่นักเรียนในความรับผิดชอบทุกคน

4. งานป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับควบคุมและป้องกันโรคเอดส์  แก่นักเรียนและประชาชนทั่วไป  ให้มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์  รวมทั้งให้บริการถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่ประชาชนทั่วไป

5. ให้บริการตรวจโรคเบาหวานและวามดันโลหิตสูงแก่ประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลฯ ตามชุมชนต่าง ๆ อย่างน้อยชุมชนละ  1 ครั้ง/ปี

 

งานส่งเสริมสุขภาพ

          มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการส่งเสริมและสุขภาพจิต  ในเขตเทศบาล  ประกอบกับกิจกรรม  ดำเนินการดังต่อไปนี้

1. ให้บริการเยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน

2. ตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุตั้งแต่ 35  ปี  ขึ้นไป  ทุกวันพุธที่ 1 และ 3  ของเดือน  เวลา  00 – 16.30 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

คลินิกวางแผนครอบครัว  ให้บริการตรวจสุขภาพและให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่เด็กนักเรียนในเขตรับผิดชอบทุกวันศุกร์  เวลา  13.00 – 16.30 น.  ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์