กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

งานเทศกิจ


กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
งานเทศกิจ

 

การให้บริการประชาชนงานเทศกิจ

 

การขออนุญาต จัดตั้งตลาด

 

          ตลาด หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุม เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้ใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำ หรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด           

          ผู้ใดที่ประสงค์จะจัดตั้งตลาด ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี และจะต้องได้รับใบอนุญาตจากนายกเทศมนตรีเมืองปทุมธานี

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

กรณีบุคคลธรรมดา

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต

(2) สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการ

(3) สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร ที่แสดงว่าอาคารนั้นสามารถใช้เป็นสถานประกอบการได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคาร

(4) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบ และผู้รับมอบกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง

กรณีนิติบุคคล

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล             

(2) สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการ

(3) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล               

(4) สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร ที่แสดงว่าอาคารนั้นสามารถใช้เป็นสถานประกอบการได้โดยถูกต้อง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

(5) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบ และผู้รับมอบกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง

ขั้นตอนการออกใบอนุญาต

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบเอกสาร

- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอ จะทำการตรวจสอบเอกสาร หากเอกสารไม่ถูกต้องพนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบ และให้ผู้ขอทำการแก้ไขโดยทันที (ระยะเวลาดำเนินการภายใน 10 นาที)

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบสถานประกอบการ

- พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสุขลักษณะของสถานประกอบการเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาต (ระยะเวลาดำเนินการ ภายในกำหนด 6 วันทำการ นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอ)

- ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจพบว่าสถานประกอบการใดปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบ

ขั้นตอนที่ 3 เสนอเรื่องให้นายกเทศมนตรีพิจารณา

- พนักงานเจ้าหน้าที่ทำความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้นายกเทศมนตรีหรือผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการอนุญาตหรือไม่อนุญาต (ระยะเวลาในการดำเนินการ  5 วันทำการ)

ขั้นตอนที่ 4 การแจ้งผลการพิจารณา

-  เมื่อนายกเทศมนตรีพิจารณาสั่งการอนุญาตหรือไม่อนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องแจ้งผลการพิจารณาสั่งการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ (ภายในกำหนด 3 วันทำการ)

- แจ้งผลการพิจารณาทางโทรศัพท์ ดำเนินการภายใน 1 วันทำการ

- แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือ   ดำเนินการภายใน  3 วันทำการ

การขอรับใบอนุญาต และชำระค่าธรรมเนียม

- เมื่อได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้า ผู้ยื่นคำขอสามารถติดต่อขอรับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมได้ตาม วัน เวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด โดยมาขอรับใบอนุญาต ได้ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

การอุทธรณ์

- ในกรณีที่นายกเทศมนตรีมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่ต่อใบอนุญาต ถ้าผู้ที่ได้รับคำสั่งไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง

บทกำหนดโทษ

- ผู้ใดจัดตั้งตลาดโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การต่ออายุใบอนุญาต

- ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และใช้ได้เพียงในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานีเท่านั้น

- เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปทุมธานีพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามแบบที่เทศบาลเมืองปทุมธานีกำหนด ภายในกำหนด 90 วัน ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ และเมื่อได้ยื่นคำขอ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการต่อไป จนกว่านายกเทศมนตรีจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต

- ถ้ามิได้ชะระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของจำนวนที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ขอรับใบอนุญาต จะบอกเลิกการจำหน่ายสินค้านั้นก่อนถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียม

ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ

- ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ต่อนายกเทศมนตรี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในส่วนสำคัญ โดยยื่นคำขอที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี พร้อมเอกสารแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ กรณีสูญหายหรือถูกทำลาย หรือพร้อมใบอนุญาตเดิม กรณีที่ชำรุด

 

การขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ

 

          ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้

          ผู้ที่ประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ให้ยื่นคำขอที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี

เอกสารประกอบการยื่นคำขอใบอนุญาต

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาต

(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ช่วยจำหน่ายสินค้า

(3) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัวไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่น ขนาด 1x 1.5 นิ้ว ของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายคนละ 3 รูป

(4)ใบรับรองแพทย์ของผู้ขอใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้า

(5) แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งจำหน่ายสินค้า

(6) ผู้ประกอบการรายใหม่ จะต้องได้รับความยินยอมในเรื่องสถานที่ตั้งวางจำหน่าย      จากเจ้าหน้าที่เทศกิจ

ขั้นตอนการออกใบอนุญาต

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบเอกสาร

- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอ จะทำการตรวจสอบเอกสาร หากเอกสารไม่ถูกต้องพนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบ และให้ผู้ขอทำการแก้ไขโดยทันที (ระยะเวลาดำเนินการภายใน 10 นาที)

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบสถานประกอบการ

-  พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสุขลักษณะของพื้นที่จำหน่ายสินค้า เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาต (ระยะเวลาดำเนินการ ภายในกำหนด 6 วันทำการ นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอ)

- ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจพบว่าสถานประกอบการใดปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบ

ขั้นตอนที่ 3 เสนอเรื่องให้นายกเทศมนตรีพิจารณา

- พนักงานเจ้าหน้าที่ทำความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้นายกเทศมนตรีหรือผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการอนุญาตหรือไม่อนุญาต (ระยะเวลาในการดำเนินการ 7  วันทำการ)

ขั้นตอนที่ 4 การแจ้งผลการพิจารณา

-  เมื่อนายกเทศมนตรีพิจารณาสั่งการอนุญาตหรือไม่อนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องแจ้งผลการพิจารณาสั่งการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ (ภายในกำหนด 3 วันทำการ)

- แจ้งผลการพิจารณาทางโทรศัพท์ ดำเนินการภายใน 1 วันทำการ

- แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือ   ดำเนินการภายใน  3 วันทำการ

การขอรับใบอนุญาต และชำระค่าธรรมเนียม

- เมื่อได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้า ผู้ยื่นคำขอสามารถติดต่อขอรับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมได้ตาม วัน เวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด โดยมาขอรับใบอนุญาต ได้ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

การอุทธรณ์

- ในกรณีที่นายกเทศมนตรีมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่ต่อใบอนุญาต ถ้าผู้ที่ได้รับคำสั่งไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง

บทกำหนดโทษ

- ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

การต่ออายุใบอนุญาต

- ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และใช้ได้เพียงในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานีเท่านั้น

-  เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปทุมธานีพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามแบบที่เทศบาลเมืองปทุมธานีกำหนด ภายในกำหนด 90 วัน ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ และเมื่อได้ยื่นคำขอ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการต่อไป จนกว่านายกเทศมนตรีจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต

- ถ้ามิได้ชะระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของจำนวนที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ขอรับใบอนุญาต จะบอกเลิกการจำหน่ายสินค้านั้นก่อนถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียม

ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ

- ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ต่อนายกเทศมนตรี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในส่วนสำคัญ โดยยื่นคำขอที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี พร้อมเอกสารแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ กรณีสูญหายหรือถูกทำลาย หรือพร้อมใบอนุญาตเดิม กรณีที่ชำรุดในสาระสำคัญ

 

การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

          “ที่สาธารณะ”หมายความว่า ที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ โดยรวมถึงถนนหรือทางน้ำด้วย

          ผู้ใด  สถานประกอบการใด หรือหน่วยงานใด มีความประสงค์จะขอใช้สถานที่สาธารณะ ให้ยื่นความประสงค์เป็นหนังสือ ได้ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี หรือยื่นความประสงค์เป็นจดหมายที่ สำนักงานเทศบาลเมืองปทุมธานี เลขที่ 12  ต.บางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี  รหัสไปรษณีย์ 12000  และต้องยื่นความประสงค์ก่อนกำหนดจัดงาน อย่างน้อย 5 วัน

เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขออนุญาต

(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการ หรือผู้แทนนิติบุคคล

(3) หนังสือแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สถานที่ วัน เวลา จำนวนพื้นที่ที่ขออนุญาต

ขั้นตอนการดำเนินการออกใบอนุญาต

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบเอกสาร

- พนักงานเจ้าหน้าที่รับคำขอ จะทำการตรวจสอบเอกสาร หากเอกสารไม่ถูกต้องพนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบ และให้ผู้ขอทำการแก้ไขโดยทันที (ระยะเวลาดำเนินการภายใน 10 นาที)

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบพื้นที่                           

- พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบว่า วัน เวลา ดังกล่าวมีการใช้พื้นที่ หรือไม่ หากมีการใช้พื้นที่เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ทันที (ระยะเวลาดำเนินการภายใน 10 นาที)

ขั้นตอนที่ 3 เสนอเรื่องให้นายกเทศมนตรีพิจารณา

- พนักงานเจ้าหน้าที่ทำความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้นายกเทศมนตรีหรือผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการอนุญาตหรือไม่อนุญาต (ระยะเวลาในการดำเนินการ  5 วันทำการ)

ขั้นตอนที่ 4 การแจ้งผลการพิจารณา

-  เมื่อนายกเทศมนตรีพิจารณาสั่งการอนุญาตหรือไม่อนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องแจ้งผลการพิจารณาสั่งการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ (ภายในกำหนด 3 วันทำการ)

- แจ้งผลการพิจารณาทางโทรศัพท์ ดำเนินการภายใน 1 วันทำการ

- แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือ   ดำเนินการภายใน  3 วันทำการ

 

การจัดระเบียบการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ

    

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

(1) พนักงานเจ้าหน้าที่ออกตรวจความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี

(2) หากพบว่าผู้จำหน่ายสินค้า หรือผู้ประกอบการรายใดไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต  พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการตักเตือนเป็นหนังสือ และออกคำสั่งให้ทำการแก้ไข หรือปรับปรุงให้ถูกต้อง (ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 5 วัน)

(3) เมื่อครบกำหนดเวลา พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบว่ามีการแก้ไข หรือปรับปรุงหรือไม่

(4) หากผู้ที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ทำการแก้ไข หรือปรับปรุง ให้ถูกต้องตามที่ได้รับคำสั่ง พนักงานเจ้าหน้าที่จะเสนอเรื่องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น จะออกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตของผู้จำหน่ายสินค้า หรือผู้ประกอบการ ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 15 วัน

(5) การเพิกถอนใบอนุญาต

เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ ในกรณีดังต่อไปนี้     

1. ผู้จำหน่ายสินค้าถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะถูกสั่งพักใบอนุญาตอีก

2. ผู้จำหน่ายสินค้าต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ.2535 หรือเทศบัญญัติเทศบาลเมืองปทุมธานี เรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ.2549

3. ผู้จำหน่ายสินค้าไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ.2535 กฎกระทรวงสาธารณสุข หรือเทศบัญญัติ หรือเงื่อนไขที่ระบุไวในใบอนุญาต และการไม่ปฏิบัติหรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้น ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน

(6) ผู้ที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต จะขอรับใบอนุญาตที่ถูกเพิกถอนอีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต

 

การร้องเรียนเรื่องการตั้งวาง หรือจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ

 

          ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการตั้งวาง หรือจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ สามารถร้องเรียนเหตุดังกล่าวได้ที่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 0581-5740

เอกสารประกอบคำร้อง

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำขอ

ขั้นตอนการตรวจสอบเหตุร้องเรียน

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบคำร้องเรียน 

- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำร้องขอ หรือได้รับแจ้งเหตุร้องเรียน พนักงานเจ้าหน้าที่ จะทำการตรวจสอบสถานที่ที่มีการร้องเรียน (ดำเนินการโดยทันที หรือภายในกำหนด 3 วันทำการ)

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบสถานที่

- พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสถานที่ ที่มีเหตุร้องเรียน และสั่งให้ทำการเคลื่อนย้ายสิ่งของโดยทันที หากไม่เชื่อฟัง พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการจับกุมโดยทันที 

- กรณีเป็นสิ่งปลูกสร้าง พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ทำการรื้อถอน และเคลื่อนย้าย ภายในกำหนด 5 วัน       

ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบการระงับเหตุร้องเรียน

- เมื่อครบกำหนด 5 วัน พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบว่ามีการรื้อถอนและเคลื่อนย้ายหรือไม่

- หากผู้ก่อเหตุทำการแก้ไข พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบ (ระยะเวลาดำเนินการ ภายในกำหนด  3 วัน ทำการ)

ขั้นตอนที่ 4 การระงับเหตุร้องเรียน

- หากผู้ก่อให้เกิดเหตุรำคาญไม่ทำการรื้อถอน และเคลื่อนย้ายภายในเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด นายกเทศมนตรีจะทำการออกคำสั่งให้ทำการรื้อถอนและเคลื่อนย้าย หรือดำเนินการแก้ไขตามความจำเป็นเพื่อมิให้มีเหตุดังกล่าว โดยบุคคลที่เป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดเหตุร้องเรียน ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดการนั้น

การจัดระเบียบการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ

(1) พนักงานเจ้าหน้าที่ออกตรวจความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี

(2) หากพบว่าผู้จำหน่ายสินค้า หรือผู้ประกอบการรายใดไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต  พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการตักเตือนเป็นหนังสือ และออกคำสั่งให้ทำการแก้ไข หรือปรับปรุงให้ถูกต้อง (ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 5 วัน)

(3) เมื่อครบกำหนดเวลา พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบว่ามีการแก้ไข หรือปรับปรุงหรือไม่

(4) หากผู้ที่ได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ทำการแก้ไข หรือปรับปรุง ให้ถูกต้องตามที่ได้รับคำสั่ง พนักงานเจ้าหน้าที่จะเสนอเรื่องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น จะออกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตของผู้จำหน่ายสินค้า หรือผู้ประกอบการ ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 15 วัน

(5) การเพิกถอนใบอนุญาต

เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ ในกรณีดังต่อไปนี้     

1. ผู้จำหน่ายสินค้าถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะถูกสั่งพักใบอนุญาตอีก

2. ผู้จำหน่ายสินค้าต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ.2535 หรือเทศบัญญัติเทศบาลเมืองปทุมธานี เรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ.2549

3. ผู้จำหน่ายสินค้าไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ.2535 กฎกระทรวงสาธารณสุข หรือเทศบัญญัติ หรือเงื่อนไขที่ระบุไวในใบอนุญาต และการไม่ปฏิบัติหรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้น ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน

(6) ผู้ที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต จะขอรับใบอนุญาตที่ถูกเพิกถอนอีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต