กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม


กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม

 

การให้บริการประชาชนงานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม

 

การขออนุญาตประกอบกิจการค้า

 

ประกอบกิจการค้าต่อไปนี้ ต้องขอรับใบอนุญาตจากเทศบาล คือ

(1) กิจการค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ซ่อมเครื่องยนต์สะสมน้ำมันเชื้อเพลิง เชื่อมประสาน

(2) โลหะ โรงแรม อาบอบนวด ฯลฯ

(3) การจำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร

(4) การจัดตั้งตลาดเอกชน

(5) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แผงลอย)

(6) กิจการเสริมสวย – แต่งผม

 

กำหนดการยื่นคำร้อง

(1) ผู้ประกอบการค้าที่ประสงค์จะดำเนินการค้าต่อไป ต้องยื่นคำร้องขอต่ออายุใบอนุญาต ก่อนวันสิ้นอายุของใบอนุญาตนั้น

(2) ใบอนุญาตฉบับหนึ่ง ให้สิ้นอายุภายในกำหนด 1 ปี

(3) ใบอนุญาตฉบับหนึ่ง ให้ใช้สำหรับการค้าประเภทเดียว และเฉพาะสถานที่แห่งเดียว

(4) สำหรับรายใหม่ ต้องยื่นคำร้องขออนุญาตก่อนเริ่มประกอบการค้า

 

บทกำหนดโทษ

(1) ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษปรับและให้ศาลมีอำนาจสั่งห้ามกระทำการค้าต่อไป

(2) ระยะเวลาการขออนุญาตประกอบกิจการต่าง ๆ ไม่เกิน  20  วัน  หากพ้นกำหนดแล้วผู้ประกอบการค้าจะต้องเสียค่าปรับร้อยละ  20  ของค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 

 

การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

          กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หมายความว่า กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ซึ่งมีทั้งหมด 133 กิจการ ทั้งนี้ตามที่ได้กำหนดไว้ในเทศบัญญัติ เทศบาลเมืองปทุมธานี เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2549

          ผู้ใดที่ประสงค์จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี และจะต้องได้รับใบอนุญาต จากนายกเทศมนตรีเมืองปทุมธานี

 

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

กรณีบุคคลธรรมดา

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต

(2) สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการ

(3) สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร ที่แสดงว่าอาคารนั้นสามารถใช้เป็นสถานประกอบการได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคาร

(4) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบ และผู้รับมอบกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง

กรณีนิติบุคคล

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการ หรือผู้แทนนิติบุคคล             

(2) สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการ

(3) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล               

(4) สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร ที่แสดงว่าอาคารนั้นสามารถใช้เป็นสถานประกอบการได้โดยถูกต้อง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

(5) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบ และผู้รับมอบกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง

ขั้นตอนการออกใบอนุญาต

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบเอกสาร

- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอ จะทำการตรวจสอบเอกสาร หากเอกสารไม่ถูกต้องพนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบ และให้ผู้ขอทำการแก้ไขโดยทันที(ระยะเวลาดำเนินการภายใน 10 นาที)

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบสถานประกอบการ

- พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสุขลักษณะของสถานประกอบการเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาต (ระยะเวลาดำเนินการ ภายในกำหนด  6 วันทำการ นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอ)

- ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจพบว่าสถานประกอบการใดปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบ

ขั้นตอนที่ 3 เสนอเรื่องให้นายกเทศมนตรีพิจารณา

- พนักงานเจ้าหน้าที่ทำความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้นายกเทศมนตรีหรือผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการอนุญาตหรือไม่อนุญาต (ระยะเวลาในการดำเนินการ  7 วันทำการ)

ขั้นตอนที่ 4 การแจ้งผลการพิจารณา

-  เมื่อนายกเทศมนตรีพิจารณาสั่งการอนุญาตหรือไม่อนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องแจ้งผลการพิจารณาสั่งการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ (ภายในกำหนด 3 วันทำการ)

- แจ้งผลการพิจารณาทางโทรศัพท์ ดำเนินการภายใน 1 วันทำการ

- แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือ   ดำเนินการภายใน  3 วันทำการ

การขอรับใบอนุญาต และชำระค่าธรรมเนียม

 - เมื่อได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้า ผู้ยื่นคำขอสามารถติดต่อขอรับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมได้ตาม วัน เวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด โดยมาขอรับใบอนุญาต ได้ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

การอุทธรณ์

- ในกรณีที่นายกเทศมนตรีมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่ต่อใบอนุญาต ถ้าผู้ที่ได้รับคำสั่งไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง

บทกำหนดโทษ

- ผู้ใดประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การต่ออายุใบอนุญาต

- ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และใช้ได้เพียงในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานีเท่านั้น

- เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปทุมธานีพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามแบบที่เทศบาลเมืองปทุมธานีกำหนด ภายในกำหนด 90 วัน ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ และเมื่อได้ยื่นคำขอ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการต่อไป จนกว่านายกเทศมนตรีจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต

- ถ้ามิได้ชะระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของจำนวนที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ขอรับใบอนุญาต จะบอกเลิกการจำหน่ายสินค้านั้นก่อนถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียม

ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ

- ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ต่อนายกเทศมนตรี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในส่วนสำคัญ โดยยื่นคำขอที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี พร้อมเอกสารแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ กรณีสูญหายหรือถูกทำลาย หรือพร้อมใบอนุญาตเดิม กรณีที่ชำรุดในสาระสำคัญ

 

การขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
(กรณีการออกใบอนุญาต และ กรณีการออกหนังสือรับรองการแจ้ง)

           สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้เพื่อการประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จ และจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม

          สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่ไม่ใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้ง หรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง

- ผู้ใดจะทำการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารที่มีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร ต้องได้รับ   “ใบอนุญาต”  จากนายกเทศมนตรีเมืองปทุมธานี

- ผู้ในจะทำการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ต้องได้รับ "หนังสือรับรองการแจ้ง" จากนายกเทศมนตรีเมืองปทุมธานี

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

กรณีบุคคลธรรมดา

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต

(2) สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการ

(3) สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร ที่แสดงว่าอาคารนั้นสามารถใช้เป็นสถานประกอบการได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคาร

(4) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบ และผู้รับมอบกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง

กรณีนิติบุคคล

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล             

(2) สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการ

(3) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล               

(4) สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร ที่แสดงว่าอาคารนั้นสามารถใช้เป็นสถานประกอบการได้โดยถูกต้อง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

(5) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบ และผู้รับมอบกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง

ขั้นตอนการออกใบอนุญาต

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบเอกสาร

- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอ จะทำการตรวจสอบเอกสาร หากเอกสารไม่ถูกต้องพนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบ และให้ผู้ขอทำการแก้ไขโดยทันที (ระยะเวลาดำเนินการภายใน 10 นาที)

- เมื่อเอกสารถูกต้องพนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบรับแจ้ง แก่ผู้ยื่นคำขอ (ระยะเวลาดำเนินการภายใน 1 วันทำการ)

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบสถานประกอบการ

-  พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสุขลักษณะของสถานประกอบการเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาต (ระยะเวลาดำเนินการ ภายในกำหนด 6 วันทำการ นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอ)

- ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจพบว่าสถานประกอบการใดปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบ

ขั้นตอนที่ 3 เสนอเรื่องให้นายกเทศมนตรีพิจารณา

- พนักงานเจ้าหน้าที่ทำความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้นายกเทศมนตรี หรือผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการอนุญาตหรือไม่อนุญาต (ระยะเวลาการดำเนินการขอใบอนุญาต 7 วันทำการ, ระยะเวลาการดำเนินการขอหนังสือรับรองการแจ้ง 3 วันทำการ)

ขั้นตอนที่ 4 การแจ้งผลการพิจารณา

-  เมื่อนายกเทศมนตรีพิจารณาสั่งการอนุญาตหรือไม่อนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องแจ้งผลการพิจารณาสั่งการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ (ภายในกำหนด 3 วันทำการ)

- แจ้งผลการพิจารณาทางโทรศัพท์ ดำเนินการภายใน 1 วันทำการ

- แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือ   ดำเนินการภายใน  3 วันทำการ

การขอรับใบอนุญาต การขอหนังสือรับรองการแจ้ง และชำระค่าธรรมเนียม

- เมื่อได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ยื่นคำขอสามารถติดต่อขอรับ ใบอนุญาต หนังสือรับรองการแจ้ง และชำระค่าธรรมเนียมได้ตาม วัน เวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด โดยมาขอรับใบอนุญาต หนังสือรับรองการแจ้ง ได้ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปทุมธานี แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

การอุทธรณ์

- ในกรณีที่นายกเทศมนตรีมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่ต่อใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง ถ้าผู้ที่ได้รับคำสั่งไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง

บทกำหนดโทษ

- ผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารที่มีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตรโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- ผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารโดยไม่ได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การต่ออายุใบอนุญาต และการต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้ง

- ใบอนุญาต และหนังสือรับรองการแจ้ง มีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาตหรือออกหนังสือรับรองการแจ้ง  และใช้ได้เพียงในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานีเท่านั้น

- เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้ง ประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง ให้ยื่นคำขอต่อนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปทุมธานี พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามแบบที่เทศบาลเมืองปทุมธานีกำหนด ภายในกำหนด 90 วัน ก่อนใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสิ้นอายุ และเมื่อได้ยื่นคำขอ พร้อมเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้ง ประกอบกิจการต่อไป จนกว่านายกเทศมนตรีจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้ง

- ถ้ามิได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้ง ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของจำนวนที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ขอรับใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้ง จะบอกเลิกการจำหน่ายสินค้านั้นก่อนถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียม

ใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้ง สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ

- ผู้ขอรับใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้ง ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง ต่อนายกเทศมนตรี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในส่วนสำคัญ โดยยื่นคำขอที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองปทุมธานี พร้อมเอกสารแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ กรณีสูญหายหรือถูกทำลาย หรือพร้อมใบอนุญาตเดิม หรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม  กรณีที่ชำรุดในสาระสำคัญ

 

การรับเรื่องร้องเรียนเหตุรำคาญ

 

                        “เหตุรำคาญ” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่ต้องประสบเหตุ หรือผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง

เอกสารประกอบคำร้อง

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำขอ

(2) แบบคำร้องขอ

ขั้นตอนการตรวจสอบเหตุร้องเรียน

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบคำร้องเรียน

- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำร้องขอ หรือได้รับแจ้งทางโทรศัพท์ร้องเรียนเหตุรำคาญ พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการสอบถาม หรือตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับแจ้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบเหตุรำคาญ (ระยะเวลาดำเนินการ ภายใน 10  นาที)

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบสถานที่

- พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานสาธารณสุข ทำการตรวจสอบสถานที่หากพบว่ามีเหตุรำคาญ   พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขจะออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลที่เป็นต้นเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับ แก้ไข หรือป้องกันมิให้มี หรือเกิดเหตุรำคาญนั้นอีก ( ภายในเวลาที่เหมาะ แต่ไม่เกิน 5 วัน)           

ขั้นตอนที่ 3 พนักงานเจ้าหน้าที่  หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจสอบการระงับเหตุรำคาญ

- เมื่อครบกำหนดเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้มีคำคำสั่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข จะทำการตรวจสอบว่าผู้ได้รับคำสั่งมีการระงับเหตุดังกล่าวหรือไม่                                 

- หากผู้ก่อเหตุดำเนินการระงับ หรือแก้ไขเหตุรำคาญให้หมดไป  พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข จะทำหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบ (ระยะเวลาดำเนินการ ภายในกำหนด  3 วันทำการ)

ขั้นตอนที่ 4 เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้ระงับเหตุรำคาญ

- หากผู้ก่อให้เกิดเหตุรำคาญไม่ทำการระงับ แก้ไข หรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลผู้เป็นต้นเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้นระงับ หรือป้องกันเหตุรำคาญ (ภายในกำหนดเวลา 7  วัน หรือภายในเวลาที่กำหนด)

ขั้นตอนที่ 5 การระงับเหตุรำคาญ

- เมื่อครบกำหนดเวลาตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่ง หากไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเหตุรำคาญนั้นอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะทำการระงับเหตุรำคาญนั้น และอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อมิให้เกิดเหตุรำคาญนั้นอีก โดยบุคคลที่เป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดเหตุรำคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น

ประชาชนผู้อยู่ในเขตเทศบาลสามารถขอความช่วยเหลือ ได้ดังต่อไปนี้

- การร้องเรียนเกี่ยวกับกิจการที่ทำให้เกิดความเดือดร้อน

- การร้องเรียนเกี่ยวกับความเดือนร้อนที่เกิดจากสัตว์

- การร้องเรียนเกี่ยวกับความสะอาดของที่ ทางสาธารณะ

 

 ***ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุรำคาญ สามารถร้องเรียนเหตุรำคาญดังกล่าว   ได้ที่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ชั้น 3 เทศบาลเมืองปทุมธานี หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-581-5740*