กองคลัง

คำแนะนำการจดทะเบียนพาณิชย์


กองคลัง
คำแนะนำการจดทะเบียนพาณิชย์

 

 

คำแนะนำการจดทะเบียนพาณิชย์

 

การจดทะเบียนพาณิชย์

 

1. ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ หรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือวันเลิกกิจการ

2. กรณีแจ้งเลิกเพราะเหตุผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรมให้ลงชื่อโดยทายาทคนใดคนหนึ่ง หรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ทำการแทนทายาท หรือผู้รับมอบอำนาจจากทายาท

 

คำแนะนำในการจดทะเบียนพาณิชย์

 

ผู้ประกอบการพาณิชย์ หมายถึง

- บุคคลธรรมดา (เจ้าของคนเดียว)

- ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

- นิติบุคคลต่างประเทศที่ตั้งสำนักงานในประเทศไทย

 

กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 มาตรา 6

- การทำโรงสีข้าง การทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร

- ขายสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม คิดรวมทั้งสิ้น วันหนึ่งวันใดขายได้ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าไว้เพื่อขาย มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป

- การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ๆ ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตามและสินค้ามีค่ารวมทั้งสิ้นใสวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป

- การประกอบหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด อย่างเดียว หรือว่าหลายอย่างก็ตามและขายสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันใดวันหนึ่งเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป

- การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทางการขนส่งโดยรถไฟหรือรถรางหรือรถยนต์ประจำทางการขายทอดตลาดรับซื้อขายที่ดิน การให้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคารการโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม

 

และประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2549

- การขายหรือให้เช่าแผ่นซีดี แถบบันทึกวีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิตัลเฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

- การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี

- การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

- การบริการอินเตอร์เน็ต

- การใช้พื้นที่ของคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

- การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต

- การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึกวีดีทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดีหรือแผ่นวีดิทัศน์ ระบบดิจิทัลเกี่ยวกับการบันเทิง

- การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ตและเกม

- การให้บริการร้องเพลง ฟังเพลง โดยคาราโอเกะ

- การให้บริการเครื่องเล่นเกม

- การให้บริการตู้เพลง

- โรงแปรสภาพ แกะสลักและการทำหัตถกรรมจากงาช้างการ้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

- การค้าเร่ การค้าแผงลอย

- พาณิชยกิจเพื่อบำรุงศาสนา หรือเพื่อการกุศล

- พาณิชยกิจของนิติบุคคลซื้อได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น

- พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์

- กิจการของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในประเทศไทย

 

รายการที่ต้องจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง

- พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งได้จดทะเบียนตามประกาศคณะปฏิวัติฉบบที่ 141 ลงวันที่ 15 พ.ศ. 2515

 

การยื่นจดทะเบียนพาณิชย์

- เลิกชนิดประกอบการกิจการบางส่วนและ/หรือเพิ่มใหม่

- เปลี่ยนขื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ

- ย้ายสำนักงานใหญ่

- เปลี่ยนผู้จัดการ

- เจ้าของหรือผู้จัดการย้ายที่อยู่

- เพิ่มหรือลดทุน

- ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขาโรงเก็บสินค้าหรือตัวแทนค้าต่าง ๆ

- อื่น ๆ เช่น เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนชื่อ – สกุล หรือรายการที่จดทะเบียนไว้ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง

 

กิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499

1. การจดทะเบียนตั้งใหม่ มีเอกสารดังนี้

          - คำขอจดทะเบียน (แบบ ทพ.)

2. หลักฐานประกอบคำขอ

          - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด

                   - เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้รบผิดชอบในการประกอบการในประเทศกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ

                   - สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศ หนังสือแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินการในประเทศใบอนุญาตทำงานในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ

                   - หนังสือมอบอำนาน (ถ้ามี)

 

การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง

มีเอกสารดังนี้

1. คำขอจดทะเบียน (แบบ ทพ.)

2. หลักฐานประกอบการขอ

          - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ จำนวน 1 ชุด หรือหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ

          - สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศ หนังสือแต่งตั้ง ผู้รับผิดชอบดำเนินการในประเทศไทย ใบอนุญาตทำงานในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ

          - หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

 

การจดทะเบียนเลิก

1. คำขอจดทะเบียน (แบบ ทพ.)

2. หลักฐานประกอบการขอ

          - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เจ้าของกิจการ จำนวน 1 ชุด หรือหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ

          - ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย

          - หนังสือรับฝากบัญชี และเอกสารประกอบการลงบัญชีในกรณีที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี

          - สำเนาเอกสารสั่งให้เลิกประกอบกิจการในประเทศในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ

          - สำเนาใบมรณะบัตรของผู้ประกอบกิจการในกรณีที่ผู้ประกอบการถึงแก่กรรม หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

 

ค่าธรรมเนียม

- จดทะเบียนตั้งใหม่  

- จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงครั้งละ

- จดทะเบียนเลิก  

- ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ

- ตรวจเอกสาร ครั้งละ   

- คัดสำเนาและรับรองสำเนา ฉบับละ

50 บาท

20 บาท

20 บาท

30 บาท

20 บาท

30 บาท

 

บทกำหนดโทษ

1. ประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนแสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.

2. ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอรับใบแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงานที่เห็นได้ง่ายไม่จัดทำป้ายชื่อมีความผิดต้องระวางโทษไม่เกิน 200 บาท และถ้าทำผิดต่อเนื่องปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.

3. ผู้ประกอบการซึ่งกระทำการฉ้อโกงประชาชนปนสินค้าโดยเจตนาทุจริตปลอมปนสินค้า หรือกระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการ จะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่

4. ผู้ประกอบการที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้วยังฝ่าฝืนประกอบกิจการต่อ มีความผิดต้องระวางโทษไม่เกิน 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ